บทความ

ไวรัสตับอักเสบบี และการแปลผล

คุณรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี..แค่ไหน

 

ไวรัสตับอักเสบบี และการแปลผล

 ภาพไวรัสจาก http://www.phimaimedicine.org/2010/07/663-25.html

เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (HBV) เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคตับอักเสบซึ่งพบการติดเชื้อเรื้อรังและมีการดำเนินโรคเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ พาหะของไวรัสตับอักเสบบีเคยพบ 5-10 % อุบัติการณ์ของโรคในขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเรื้อรังประมาณ 3%หลังจากมีการนำวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีมาใช้อย่างกว้างขวางและตั้งแต่เริ่มมีนโยบายการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารกแรกคลอดในปีพ.ศ.2535 เด็กรุ่นใหม่จึงพบอุบัติเหตุการณ์พาหะเรื้อรังน้อยกว่า 1 %

รูปที่ 1

 

อาการทางคลินิกและการดำเนินโรคไม่สามารถบอกถึงเชื้อไวรัสต้นเหตุได้การวินิจฉัยของการติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น(รูปที่1) ผู้ที่ติดเชื้อเฉียบพลัน (acute infection) จะพบ HBsAg ร่วมกับ anti-HBsc lgm เมื่อหายแล้ว (previous infection) จะตรวจพบ anti-HBs ซึ่งเป็น protective antibody แต่ในผู้ที่ไม่หายยังคงตรวจพบ Hbs Ag ตลอดเวลานานกว่า 6 เดือน chronic infection โดยไม่พบการสร้าง anti-Hbs ดังนั้นผู้ที่ตรวจพบ HBsAg อยู่จึงใช้ anti-Hbc im แยกการติดเชื้อแบบเฉียบพลันออกจากแบบเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมักพบ serological marker ในรูปแบบแปลกๆยาวกว่าเดิมดังนี้

 

รูปแบบแรกที่พบ คือพบแต่ anti-HBc เพียงอย่างเดียว  isolated anti-HBc โดยไม่พบ HBsAg และ anti-HBs ปัญหาส่วนใหญ่มักมาจากเทคนิคการทดสอบที่ให้ผลบวกปลอม กลุ่มที่มี isolated anti HBc นี้พบได้ในกรณี

 

1) เพิ่งหายจากการติดเชื้อ (recent infection) หรือเป็นช่วง core window

2) เคยติดเชื้อมานานแล้ว แต่ระดับของ anti-Hbs ลดลงเกินขีดความสามารถของชุดตรวจจับได้

3) เป็น chronic infection อยู่แล้ว แต่ระดับของ HBsAg ลดลงอยู่ในระยะ inactive hepatitis ซึ่งถือว่าเป็นการติดเชื้อแบบ occult hepatitis

4) เป็นเชื้อ HBV กลายพันธุ์โดยเฉพาะตรงบริเวณ a determinant ของ HBsAg มีผลตรวจจับไม่ได้ด้วยชุดตรวจรูปแบต่างๆ

 

รูปแบบที่สองที่พบ คือพบแต่ HbsAg เพียงอย่างเดียวโดยไม่ตรวจพบ ant-Hbs และ anti-HBc อาจเกิดจากผลบวกปลอมหรือพบได้ในระยะแรกๆของการติดเชื้อที่เรียกว่า diagnostic window periods ควรยืนยันผลของ HBsAg ที่ได้ด้วยวิธี neutralization /blocking assays หรือตรวจหา HBV DNA ด้วยเทคนิค PCR

 

รูปแบบที่สามที่พบมากขึ้นในขณะนี้เป็นการตรวจพบ 3 markers พร้อมกันซึ่งรูปแบบนี้อาจเป็นผลบวกปลอม หรืออาจพบในผู้ติดเชื้อที่อยู่ในช่วง core window ระหว่าง HbsAg และ anti –HBs แคบลงจนพบพร้อมกันทั้งสอง markers เนื่องมาจากชุดตรวจของน้ำยาที่ใช่เพิ่มขีดความสามารถที่ทำให้มีความไวในการจับมากขึ้นหรืออาจพบในกลุ่มพาหะเรื้อรังอยู่แล้วแต่ได้สร้าง anti-HBs ขึ้นมาได้และหลักฐานสำคัญที่สำคัญซึ่งพบได้ในขณะนี้คือ เกิดจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะตรงบริเวณที่เป็น   a  determinant ซึ่งไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อกลายพันธุ์นี้ได้แม้ว่าตรวจพบ anti-HBsแล้ว

 

ดังนั้นห้องปฏิบัติการควรจัดทำระบบคุณภาพในการทดสอบทุกครั้งเพื่อให้มั่นใจในการทดสอบที่ได้ หากได้รูปแบแปลกควรทดสอบช้ำเพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการปฏิบัติงานสำหรับการตรวจ HBsAg สามารถยืนยันผลที่ได้ทางเทคนิค blocking immunoassay โดยใช้ anti-HBs จากชุดตรวจในปัจจุบันได้มีการพัฒนาชุดตรวจ HBV DNA ในเลือดซึ่งมีความไวสูงมากจับได้น้อยกว่า 100 copies /ml เพื่อค้นหาเชื้อปริมาณน้อยมากในเลือดที่บริจาค โดยที่ชุดตรวจ HBsAg ตรวจจับไม่ได้  occult hepatitis รูปแบบของการติดเชื้อแอบแฝงนี้พบในกลุ่มที่มี anti-HBc เพียงอย่างเดียวมากที่สุด HBs-ve และ antiHBc +ve เนื่องจากผู้ติดเชื้ออยู่ในระยะที่มีระดับของเชื้อลดน้อยลง inactive phase จากการศึกษาที่สภากาชาดไทยพบว่ากลุ่ม occult hepatitis ตรวจพบร้อยละ 4 ของผู้ติดเชื้อเรื้อรังดังนั้นในปัจจุบันจึงมีนโยบายในการใช้เทคนิค nucleic acid testing ทดสอบเพิ่มเติมต่อเชื้อที่ติดต่อทางเลือดทั้งไวรัสตับอักเสบบีไวรัสตับอักเสบชี และเชื้อเอชไอวี ในกรณีที่ตรวจไม่พบการติดเชื้อทั้งสามด้วยเทคนิค  immunoassay

ภาพจาก  http://www.phimaimedicine.org/2010/07/663-25.html

แหล่งที่มา DIAGTODAY Roche Diagnostics.