(เข้าชม 1401 ครั้ง)

การเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การเก็บสิ่งส่งตรวจ

ชนิดของสิ่งส่งตรวจ
1) เลือด
ประเภทของเลือด ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ ได้แก่
- Whole Blood หมายถึง เลือดครบส่วนที่ใส่สารป้องกันการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ EDTA Blood ,
Heparinized blood , Citrate blood , Fluoride blood
- Clotted blood หมายถึง เลือดครบส่วนที่ไม่ใส่สารป้องกันการแข็งตัวของเลือด เมื่อเจาะ แล้วต้องตั้ง ทิ้งไว้ 15 – 30 นาที่ เพื่อให้เกิดการแข็งตัวแล้วจึงนำไปปั่นเพื่อ แยกเอาส่วนของน้ำเหลือง เรียกว่า serum มาใช้ในงานตรวจวิเคราะห์
- Serum หมายถึง ส่วนของน้ำเหลืองที่ได้จากการปั่นแยกออกจาก Clotted Blood
- Plasma หมายถึง ส่วนของน้ำเหลืองที่ได้จากการปั่นแยก Whole Blood ที่ใส่สารกันเลือด แข็งตัว เช่น Citrate Plasma , Heparinized Plasma

อุปกรณ์เก็บตัวอย่างและวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจ

1. EDTA (จุกสีม่วง)
คุณสมบัติ จับ Ca2+ ออกโดย Chelation ทำให้เลือดไม่แข็งตัว 
ส่งตรวจ ได้แก่ CBC, Malaria, Blood gr. ,ESR,Hb Typing,Viral load,CD4,CD8,
G6PD,Lead(Pb),HbA1C
วิธี : - เจาะเลือดใส่หลอด 2 ml. ปิดฝาจุกให้แน่น mix โดยการกลับ
ขวดไปมา 5-6 ค
รั้ง พันด้วย Parafilm ส่งตรวจทันที หรือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 2-8°C เพื่อรอส่ง
***ยกเว้น CD4,CD8 เก็บที่อุณหภูมิห้อง ***

2. Sodium fluoride (NaF Tube) (จุกสีเทา)
คุณสมบัติ ทำให้เลือดไม่แข็งตัว 
ส่งตรวจ ได้แก่ Glucose
วิธี : - เจาะเลือดใส่หลอด 2 ml. ปิดฝาจุกให้แน่น mix โดยการกลับขวดไปมา 5-6 ครั้งพันด้วย Parafilm ส่งตรวจทันที หรือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 2-8°C เพื่อรอส่ง

3. Clot Bl. (จุกสีแดง )
- ภายในหลอดเลือดไม่มีสารกันเลือดแข็ง นำ Serum มาตรวจ 
ส่งตรวจ Serology, Immunology (HIV, HBsAg, VDRL),Biochemistry,Hormone
วิธี : - เจาะเลือดใส่หลอด ในระดับคอหลอด ปิดฝาให้แน่นและพัน parafilmส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการทันทีในกรณีที่ไม่สามารถ
ส่งตรวจได้ทันที ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8°C

4. Sodium citrate (3.2%) (จุกสีฟ้า)
คุณสมบัติ มี 3.8% Sodium citrate เป็นสารกันเลือดแข็ง ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี 
ส่งตรวจ ได้แก่ กลุ่มCoagulogram เช่น PT,PTT,TT,Factor assay,Lupus anticoagulant, Fibrinogen,Antithrombinlll,Protein C,Protein S

วิธี :
- เจาะเลือดใส่หลอดเลือดที่มี 3.8% Sodium citrate ให้ถึงระดับขีดที่กำหนด ปิดฝาจุกให้แน่น mix โดยการกลับขวด
ไปมา 5-6 ครั้ง พันด้วย Parafilm ส่งตรวจทันที หรือปั่นแยกพลาสมาเก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง(Freeze)เพื่อรอส่ง

2) ปัสสาวะ
การเก็บปัสสาวะควรเก็บ ดังนี้
- First Morning Urine เก็บปัสสาวะครั้งแรกในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทันที เหมาะสำหรับ : ตรวจเบาหวาน, การตั้งครรภ์
- Random Urine เก็บปัสสาวะครั้งเดียวระหว่างวัน นำมาตรวจทันที
- Postpandial Urine ปัสสาวะที่เก็บหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง
- 24 hours Urine ปัสสาวะที่เก็บให้ครบเวลา 24 ชั่วโมง
- Sterile Catherized urine การเก็บปัสสาวะ โดยใช้หลอดสวนจากกระเพาะปัสสาวะ
วิธี : การเก็บปัสสาวะให้มีปริมาณเพียงพอตามรายการสั่งตรวจ
การเก็บ First Morning Urine และ Random Urine ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณ อวัยวะภายนอก แล้วถ่าย
ปัสสาวะช่วงแรกทิ้ง เก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Midstream Urine) ลงในภาชนะ ส่วนปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป
ส่งตรวจทันทีในกรณีที่ไม่สามารถส่งตรวจปัสสาวะได้ทันที ควรเก็บปัสสาวะไว้ที่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8°C

ในกรณีผู้ต้องหาที่เข้ารับการตรวจหาสารเสพติด ปฏิบัติดังนี้
1. เข้ารับการตรวจที่ละคน
2. ผู้เข้าการตรวจเข้าห้องน้ำเพื่อเก็บปัสสาวะ
- ผู้ชาย ไม่ต้องปิดห้องน้ำ พร้อมกับมีจนท.ชายยืนคุม
- หญิง ปิดห้องน้ำแต่ไม่ต้องอกกลอน พร้อมกับมีจนท.หญิงยืนคุม 
3. เมื่อผู้เข้ารับการตรวจปัสสาวะมาส่งจนท.สังเกต ดังนี้
- ความใส ถ้าใสมากเหมือนน้ำให้ วัดความถ่วงจำเพาะทันทีถ้าได้ค่า 1.000 ให้เก็บใหม่
- ความอุ่น

3) อุจจาระ
วิธี : การเก็บอุจจาระเก็บปริมาณเท่าหัวไม้ขีดไฟ ถ้ามีมูกเลือดให้ป้ายเก็บมาด้วย 
ใส่ตลับ หรือขวดปากกว้างทีฝาปิด ส่งตรวจทันที

4) สารคัดหลั่งต่างๆจากร่างกาย
วิธี : เจาะใส่ขวดที่ปราศจากเชื้อ ถ้าต้องการตรวจนับเซลล์ ตรวจทางเคมี จะต้องใส่สารกันเลือดแข็งด้วย เช่น Heparin / EDTA

5) น้ำไขสันหลัง(CSF)
วิธี : เก็บใส่ในขวดที่สะอาด ปราศจากเชื้อ 3-4 ขวดๆละประมาณ 2-3 ml.
- ขวดที่ 1 สำหรับการตรวจทางเคมี
- ขวดที่ 2 สำหรับการตรวจทางจุลชีววิทยา
- ขวดที่ 3 สำหรับการตรวจนับเซลล์
- ขวดที่ 4 สำหรับการตรวจพิเศษอื่นๆ
โดยระบุหมายเลขของการเก็บมาด้วย และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที

6) อุปกรณ์สำหรับเพาะเชื้อ
Bacterial Culture Container : สำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ ควรเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น 2-8oC หรือช่องธรรมดา ได้แก่
- ขวด Hemoculture สำหรับเก็บตัวอย่างเพาะเชื้อจากเลือด อาหารเลี้ยงเชื้อควรมีลักษณะสีเหลืองใสไม่ขุ่น หาก
เขย่าดูแล้วอาหารเลี้ยงเชื้อขุ่น แสดงว่ามีการปนเปื้อน ขอให้นำส่งคืนยังห้องปฏิบัติการ
- Tube Transport Media สำหรับเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ : ประกอบด้วย

1. Tube Transport Media มีลักษณะเป็นวุ้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก เช่น แห้ง หรือมีเชื้อขึ้น ควรส่งคืนห้องปฏิบัติการ
ส่งตรวจได้แก่ Nasal,Throat,Genital swab,Wound,Eye,Ear,Rectal เมื่อเก็บสิ่งส่งตรวจใส่ภาชนะแล้วต้องปิดฝาให้
แน่นและพันด้วยพาราฟิล์มเก็บไว้ที่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8oC
2. ขวด Sterile เก็บสิ่งส่งตรวจ เพาะเชื้อ เช่น Urine,Sputum,Pus/Fluidอื่นๆ กรณีที่เป็นปัสสาวะให้ผู้ป่วยทำความสะอาด
บริเวณอวัยวะภายนอก แล้วถ่ายปัสสาวะ ช่วงแรกทิ้ง เก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Midstream Urine) ลงในภาชนะ ส่วนปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป ปิดฝาให้แน่นแล้วพันด้วย Parafilm ควรเก็บปัสสาวะไว้ที่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8oC


7) น้ำยาแช่ Slide Pap smear (95% Alcohol)

8) น้ำยา 10% Formalin : สำหรับแช่ชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา